หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดี


Jupiter by Cassini-Huygens.jpg

ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ นอกจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์แก๊สดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะได้แก่ ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ชื่อละตินของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) มาจากเทพเจ้าโรมัน สัญลักษณ์แทนดาวพฤหัสบดี คือ  เป็นสายฟ้าของเทพเจ้าซุส
ดาวพฤหัสบดีมีมวลสูงกว่ามวลของดาวเคราะห์อื่นรวมกันราว 2.5 เท่า ทำให้ศูนย์ระบบมวลระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดวงอาทิตย์ อยู่เหนือผิวดวงอาทิตย์ (1.068 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ เมื่อวัดจากศูนย์กลางดวงอาทิตย์) ดาวพฤหัสบดีหนักว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก เชื่อกันว่าหากดาวพฤหัสบดีมีมวลมากกว่านี้สัก 60-70 เท่า อาจเพียงพอที่จะให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์จนกลายเป็นดาวฤกษ์ได้
ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วสูงที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ ทำให้มีรูปร่างแป้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ นอกจากชั้นเมฆที่ห่อหุ้มดาวพฤหัสบดี ร่องรอยที่เด่นชัดที่สุดบนดาวพฤหัสบดี คือ จุดแดงใหญ่ ซึ่งเป็นพายุหมุนที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก
โดยทั่วไป ดาวพฤหัสบดีเป็นวัตถุที่สว่างที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในท้องฟ้า (รองจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวศุกร์ อย่างไรก็ตาม บางครั้งดาวอังคารก็ปรากฏสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี) จึงเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การค้นพบดาวบริวารขนาดใหญ่ 4 ดวง ได้แก่ ไอโอยูโรปาแกนีมีด และคัลลิสโต โดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อ ค.ศ. 1610เป็นการค้นพบวัตถุที่ไม่ได้โคจรรอบโลกเป็นครั้งแรก นับเป็นจุดที่สนับสนุนทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางที่เสนอโดยโคเปอร์นิคัส การออกมาสนับสนุนทฤษฎีนี้ทำให้กาลิเลโอต้องเผชิญกับการไต่สวน
วงแหวน



ดาวพฤหัสบดีมีวงแหวนเช่นเดียวกับดาวเสาร์แต่มีความเลือนลางและขนาดเล็กกว่า สามารถเห็นได้ในรังสีใต้แดงทั้งจากกล้องโทรทรรศน์ที่พื้นโลกและจากยานกาลิเลโอ
วงแหวนของดาวพฤหัสค่อนข้างมืด ซึ่งอาจประกอบด้วยเศษหินขนาดเล็ก และไม่พบน้ำแข็ง เหมือนที่พบในวงแหวนของดาวเสาร์ วัตถุที่อยู่ในวงแหวนของดาวพฤหัสอาจไม่อยู่ในวงแหวนนาน เนื่องจากแรงเหวี่ยงที่เกิดจากบรรยากาศและสนามแม่เหล็ก มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าวงแหวนได้วัตถุเพิ่มเติมจากฝุ่นที่เกิดจากอุกกาบาตตกชนดาวบริวารวงใน ซึ่งเนื่องจากพลังงานมหาศาลจากแรงดึงดูดขนาดใหญ่ของดาวพฤหัส

ภาพของดาวพฤหัสบดี








ดาวพฤหัสบดีมีดาวบริวารทั้งหมด 16 ดวง  คือ
1.     Metis
2.       Adrastea
3.     Amalthea
4.    Thebe
5.      IO
6.    Europa
7.      Ganymede
8.       Callisto
9.       Leda
10.  Himalia
11.   Lysithea
12.   Elara
13.   Ananke
14.   Carme
15.   Pasiphae
16.   Sinope 
สนามแม่เหล็กของดาวพฤหัสบดีมีความเข้มข้นกว่าสนามแม่เหล็กโลกถึง 4,0000 เท่า


ลักษณะของวงโคจร
จุดเริ่มยุค J2000
ระยะจุด
ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด
:
816,081,455 กม.
(5.45516759 หน่วยดาราศาสตร์)
ระยะจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
740,742,598 กม.
(4.95155843 หน่วยดาราศาสตร์)
กึ่งแกนเอก:778,412,027 กม.
(5.20336301 หน่วยดาราศาสตร์)
เส้นรอบวง
ของวงโคจร:
4.888 เทระเมตร
32.675 หน่วยดาราศาสตร์
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.04839266
คาบดาราคติ:4,335.3545 วัน
(11.87 ปีจูเลียน)
คาบซินอดิก:398.86 วัน
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร
:
13.050 กม./วินาที
อัตราเร็วสูงสุด
ในวงโคจร:
13.705 กม./วินาที
อัตราเร็วต่ำสุด
ในวงโคจร:
12.440 กม./วินาที
ความเอียง:1.30530°
(6.09° กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์)
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น
:
100.55615°
ระยะมุมจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
274.19770°
จำนวนดาวบริวาร:63
ลักษณะทางกายภาพ
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวศูนย์สูตร:
142,984 กม.
(11.209×โลก)
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวขั้ว:
133,709 กม.
(10.517×โลก)
ความแป้น:0.06487
พื้นที่ผิว:6.14×1010 กม.²
(120.5×โลก)
ปริมาตร:1.338×1015 กม.³
(1235.6×โลก)
มวล:1.899×1027กก.
(317.8×โลก)
ความหนาแน่นเฉลี่ย:1.326 กรัม/ซม.³
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร:
23.12 เมตร/วินาที²
(2.358 จี)
ความเร็วหลุดพ้น:59.54 กม./วินาที
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
0.413538021 วัน
(9 ชม. 55 นาที 29.685 วินาที)
ความเร็วการหมุน
รอบตัวเอง:
12.6 กม./วินาที
(45,300 กม./ชม.)
ความเอียงของแกน:3.13°
ไรต์แอสเซนชัน
ของขั้วเหนือ:
268.05°
(17 ชม. 52 นาที 12 วินาที)
เดคลิเนชัน
ของขั้วเหนือ:
64.49°
อัตราส่วนสะท้อน:0.52
อุณหภูมิพื้นผิว:
   เคลวิน
ต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
110 K152 K
ลักษณะของบรรยากาศ
ความดันบรรยากาศ
ที่พื้นผิว:
70 กิโลปาสกาล
องค์ประกอบ:~86% ไฮโดรเจน
~14% ฮีเลียม
0.1% มีเทน
0.1% ไอน้ำ
0.02% แอมโมเนีย
0.0002% อีเทน
0.0001% ไฮโดรเจนฟอสไฟด์
<0.0001% ไฮโดรเจนซัลไฟด์